โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง สมุนไพรฤทธิ์แรง ปราบแมลงกวนใจ
ผู้จัดทำ
นายสุรศักดิ์ เครืองรัมย์ เลขที่ ๗ ม.๔/๒
นางสาวเพ็ญพิชญา รักษา
เลขที่ ๑๘ ม.๔/๒
นางสาวสุวนีย์ แลเพลิน
เลขที่ ๓๓ ม.๔/๒
นางสาวเสาวนีย์ เรืองรัมย์
เลขที่ ๓๔ ม.๔/๒
นางสาวปริชาติ เกิดบ้านเป้า เลขที่ ๓๘
ม.๔/๒
เสนอ
คุณครูรตนัตตยา จันทนะสาโร
โรงเรียนภัทรบพิตร
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
มดเป็นแมลงที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ คน, สัตว์เลี้ยงต่างๆ และยังทำให้เกิดความเสียหายกับพืชด้วย แหล่งที่เรามักพบมด ตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอกหรือรอยแตกของพื้นปูน พื้นไม้ หรือตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ขึ้นอยู่ตามเสื้อผ้า อาหารก็มี คณะของเราจึงคิดทำโครงงานกำจัดมดขึ้นเพื่อนำสารบางชนิดจากสมุนไพรและของใช้ ในบ้าน มาสกัดเป็นสารกำจัดมด โดยเริ่มศึกษาสิ่งที่สนใจก่อน เช่น พริก ข่า ขิง ปรากฏว่า พริกเป็นสมุนไพรที่เราสนใจเป็นพิเศษ จึงได้ทำพืชที่ทีฤทธิ์ร้อนมาทดลองหา วิธีการเตรียมสารละลายพริกจะใช้พริก 80 กรัม กับน้ำ 120 ลบ.ซม. นำไปทดลองกำจัดแมลงมดแดงไฟ (มดคันไฟ)ในห้องทดลอง ผลการทดลอง พบว่าน้ำพริกกำจัดมดได้ดีที่สุด
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่องสมุนไพรไล่มด ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์
และคณะ ที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำตลอดเวลาของการดำเนินงานตามจุดประสงค์ของโครง งานที่ได้กำหนดไว้
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆและหวังเป็น อย่างยิ่งว่าโครงงานสมุนไพรไล่มดเรื่องนี้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีความ
สนใจศึกษา
นายสุรศักดิ์ เครืองรัมย์ เลขที่ ๗ ม.๔/๒
นางสาวเพ็ญพิชญา รักษา
เลขที่ ๑๘ ม.๔/๒
นางสาวสุวนีย์ แลเพลิน
เลขที่ ๓๓ ม.๔/๒
นางสาวเสาวนีย์ เรืองรัมย์
เลขที่ ๓๔ ม.๔/๒
นางสาวปริชาติ เกิดบ้านเป้า เลขที่ ๓๘
ม.๔/๒
คณะ ผู้จัดทำ
บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
แมลงหลายชนิดที่สร้างความรำคาญและก่อความเสียหายให้แก่มนุษย์ พืช เช่น ข้าว ผักผลไม้
เป็นต้น เราโดยทั่วไป ดังนั้น
เราจึงต้องหาวิธีกำจัดแมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมีซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายของคน
สัตว์และพืช ทางคณะผู้จัดทำจึงเลือกใช้ สารสกัดจากพริก พริกไทย ข่า
ขิงและใบกระเพราปราบแมลง
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อกำจัดแมลงโดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดแมลง
3. ได้ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดในพริก
พริกไทย ข่า ขิงและใบกระเพรา
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
สารสกัดในพริก พริกไทย ข่า
ขิงและใบกระเพราสามารถกำจัดแมลงได้
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น สารที่อยู่ในข่าและพริกไทย
ตัวแปรตาม กำจัดแมลงได้
ตัวแปรควบคุม ปริมาณพริก พริกไทย ข่า ขิงและใบกระเพรา ปริมาณน้ำ
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
|
|
หมวด:
|
|
ชั้น:
|
|
อันดับ:
|
|
วงศ์:
|
|
วงศ์ย่อย:
|
|
เผ่า:
|
|
สกุล:
|
|
สปีชีส์:
|
A. galanga
|
Alpinia galanga
|
ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า"
อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก
เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ
กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย
(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ข่าเป็นไม้ล้มลุก
สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน
เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก
รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด
ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ
กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
สรรพคุณ
ข่าเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย
ใช้ใส่ในต้มข่า ต้มยำ น้ำพริกแกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น แกงเหลืองและแกงกอและทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า
มีบทบาทในการดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา
หน่อข่าอ่อน
เป็นหน่อของข่าที่เพิ่งจะแทงยอดออกมาจากลำต้นใต้ดิน ถ้าอายุประมาณ 3
เดือนเรียกหน่อข่า ถ้าอายุ 6-8 เดือนเรียกข่าอ่อน ถ้าอายุมากกว่า 1
ปีจัดเป็นข่าแก่ ปริมาณน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3%
หน่อข่าอ่อนทั้งสดและลวกใช้จิ้มหลนและน้ำพริก นำมายำ
ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา
เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร
แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย
เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ
กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ข่า
ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน
กระเพรา
กะเพรา
|
|
หมวด:
|
|
ชั้น:
|
|
อันดับ:
|
|
วงศ์:
|
|
สกุล:
|
|
สปีชีส์:
|
O. tenuiflorum
|
Ocimum tenuiflorum
|
กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum)
เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา
กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ
กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว
ชื่อสามัญ
กระเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ
เชียงใหม่ - กอมก้อ, กอมก้อดง
แม่ฮ่องสอน - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ
กะเหรี่ยง - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู
เงี้ยว - อิ่มคิมหลำ
ภาคกลาง - กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีตู่ข้า
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มเตี้ยความ สูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง
แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว
โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว
หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตกออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ
เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
สรรพคุณ
ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ
ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน
"แก้โรคบิด" และขับลม
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว
ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา
ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว
ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ
น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยไขมันและลด[[อาการจุกอก]
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น
(hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ
0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
แก้ลม
ขับลม จุกเสียดใน ท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง
ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง
หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ
รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร
เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง
ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด
ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
พริกไทย
พริกไทย
|
|
Pepper plant with immature
peppercorns
|
|
หมวด:
|
|
ชั้น:
|
|
อันดับ:
|
|
วงศ์:
|
|
สกุล:
|
|
สปีชีส์:
|
P. nigrum
|
Piper nigrum
|
พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก
และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน
สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับอาหาร
ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่
ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง
ลักษณะต้นพริกไทย
พริกไทย เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย
มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน
ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่
ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย
ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก
จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง
การใช้ประโยชน์
ผลและเมล็ดพริกไทยมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงรสได้ทั้งอ่อนและแก่
แกงที่ใช้พริกไทยเป็นองค์ประกอบมีหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด ฉู่ฉี่ แกงกะหรี่ แกงเลียง ทอดมัน ผัด โจ๊ก ข้าวผัด เป็นต้น
พริกไทยมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ใบ
ใช้แก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อ ผลแก่ 15-20 เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1
ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย ดอกแก้ตาแดง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน
ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์
การขยายพันธุ์
สามารถจะปลูกได้ 2 วิธี คือ
การเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ โดยอาศัยลำต้นส่วนยอด หรือส่วนอื่นๆ ที่ไม่แก่มาก
ขิง
ขิง
|
|
ปลอดภัยจากการคุกคาม
|
|
หมวด:
|
|
ชั้น:
|
|
อันดับ:
|
|
วงศ์:
|
|
สกุล:
|
|
สปีชีส์:
|
Z. officinale
|
Zingiber officinale
Roscoe |
ขิง (อังกฤษ: Ginger) เป็นพืชล้ม ลุก มีเหง้าใต้ดิน
เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ
แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ
เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.
ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม
โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม
ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว
ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 -
25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน
และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ
อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน
ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
ขิงขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องห่างกัน 30
ซม. ปลูกห่างกัน 20 ซม. ลึก 5 - 10 ซม. ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี
ถ้าน้ำขังอาจโดนโรคเชื้อรา และการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ซึ่งอาจเป็นการลงทุนสูงแต่คุ้มค่าและจะได้พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ
เพราะส่วนใหญ่โรคที่พบมักติดมากับท่อนพันธุ์ขิง
ขิงมีอยู่หลายชื่อ ตามแต่ละถิ่น
ได้แก่ ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา,
ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
สรรพคุณ
เหง้า :
รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน
แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย
จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง
ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด
ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
ต้น :
รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
ใบ :
รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา
ฆ่าพยาธิ
ดอก :
รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร
แก้ขัดปัสสาวะ
ราก :
รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
ผล :
รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง
เป็นยาอายุวัฒนะ
แก่น :
ฝนทำยาแก้คัน
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและ อีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น
ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร
และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่
เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก
ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร [3]
การใช้เป็นอาหาร
ขิงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย
ขิงอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม ใช่ทำผัดขิง ใสในยำเช่นยำหอยแครง ใส่ในแกงฮังเล น้ำพริก กุ้งจ่อม ซอยใส่ในต้มส้มปลา เมี่ยงคำ ไก่สามอย่าง ใช้ทำขิงดอง ใส่ในบัวลอยไข่หวานเพื่อดับกลิ่นคาวไข่ [4]ทำเป็นอาหารหวาน เช่น น้ำขิง เต้าฮวย ขิงแช่อิ่ม ขนมปังขิง และยังทำเป็นขิงผงสำเร็จรูป
สำหรับชงดื่ม
คุณค่าทางโภชนาการ
เมื่อบริโภคขิง
100 กรัม คุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับคือ พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม เส้นใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2
มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10
ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม
ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ
ในเหง้าขิงมี
น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี
ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol)
, ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene)
มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง
เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่
จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด
กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน
สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค
พริก
( CHILLI OR HOT PEPPER )
“พริก” พืชผักสมุนไพรมากประโยชน์
พริก เป็นพืชผักรับประทานผลที่ใช้บริโภคกันทั่วไป และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เชื่อกันว่าพริกมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา โดยประเทศเม็กซิโก เป็นศูนย์กำเนิดพริกของโลก ต่อมานักสำรวจเส้นทางเดินเรือและการค้าชาวโปรตุเกสและสเปน ได้นำพันธุ์พริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่ยังเอเซีย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 การกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ของพริกคลอบคลุมไปหลายทวีป รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย พริกเผ็ด มีสารแคปซายซิน ที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำลายและเอนไซม์ที่ย่อยแป้งในน้ำลายเพิ่มมากขึ้น การย่อยแป้งที่ปากมากขึ้นจึงทำให้รสอาหารดี แต่ไม่ควรกินพริกมากเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียและอาเจียนได้ ประโยชน์ของพริกในการเป็นสมุนไพรรักษาโรค
พริกเผ็ด มีสรรพคุณคือ ผลพริก(เม็ดพริก) รสเผ็ดร้อน รับประทานแล้วทำให้ร้อน ทำให้โลหิตไหลเวียนดี เจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้อาเจียน แก้โรคบิด แก้โรคท้องเสีย รักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
รากพริก แก้โรคแขนขาไม่มีกำลัง อ่อนเปลี้ย ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออก
พริกทั้งต้น มีรสฉุน ร้อน แก้โรคเหน็บชาที่เกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคลั่ง ปวดข้อ และรักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
พริก ชื่อของพริกที่มีปลูกกันในบ้านเรา มีผู้เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาค เช่น พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….ดีปลี ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกนก พริกแด้ หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า มีชื่อเรียกอื่นๆว่า พริกหลวง พริกแล้ง พริกเดือยไก่ พริกหนุ่ม พริกยักษ์ มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….พริกหวาน พริกมะยม ทุกคนคงทราบกันดีว่า “พริก” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและผูกพันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคน ไทยเรามาตั้งแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จากอาหารที่รับประทานกันในแต่ละมื้อของแต่ละวันนั้น ต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสอาหาร เครื่องแกงต่างๆ กันทุกครัวเรือน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของยาต่างๆ ทั้งรับประทานและถูทาภายนอกร่างกาย เช่น ยาช่วยเจริญอาหารและขับลม ขับปัสสาวะแก้ไข้หวัด แก้ไอ ฯลฯ ตลอดจนใช้ผสมสุราทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และความเผ็ดร้อนจะช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในปัจจุบัน นี้พริกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันทั่วไป ทั้งเป็นพืชผักสวนครัวและมีการปลูกกันเป็นอาชีพในทุกภาคของประเทศ ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้มากพอสมควร จากสถิติการปลูกพริกของประเทศไทยในปีเพาะปลูก 2525/2526 ของการส่งเสริมการเกษตร รายงานว่าพริกเล็ก (พริกขี้หนู) มีการปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 79,968 ไร่ และปลูกรองๆไป ในภาคเหนือ 76,981 ไร่ ภาคตะวันตก 53,781 ไร่ ภาคใต้ 35,872 ไร่ ภาคตะวันออก 7,500 ไร่ และภาคกลางมีการปลูกน้อยที่สุดประมาณ 6,890 ไร่ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการปลูกพริกชนิดอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะพริกใหญ่ (พริกชี้ฟ้า) เพื่อใช้ทำเป็นพริกแห้งอีกเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
พริก ขี้หนู , พริกนก , พริกแด้ , พริกแจว (เหนือ) พริกขี้นก , ดีปลี (ใต้) Capsicum, Cayenne pepper ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 2-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยวเล็กรูปหอกปลายแหลม ขอบจัก ดอกเล็กๆ ผลกลมยาว ปลายไม่แหลม ขนาดเล็กยาว 15-25 มม. สีเขียวเข้ม สุกสีแดงรสเผ็ดจัด
พริกชี้ฟ้า Chili spur pepper อยู่ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae ต้นลักษณะเหมือนพริกขี้หนู แต่ใบโตกว่ารูปหัวใจเรียว ผลกลมยาวปลายแหลมสีขาวหรือเหลืองอ่อนหรือเขียวแก่ สีส้มหรือแดง ยาวกว่าพริกขี้หนู ผลชี้ขึ้นข้างบน รสเผ็ดจัด
( CHILLI OR HOT PEPPER )
“พริก” พืชผักสมุนไพรมากประโยชน์
พริก เป็นพืชผักรับประทานผลที่ใช้บริโภคกันทั่วไป และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เชื่อกันว่าพริกมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา โดยประเทศเม็กซิโก เป็นศูนย์กำเนิดพริกของโลก ต่อมานักสำรวจเส้นทางเดินเรือและการค้าชาวโปรตุเกสและสเปน ได้นำพันธุ์พริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่ยังเอเซีย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 การกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ของพริกคลอบคลุมไปหลายทวีป รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย พริกเผ็ด มีสารแคปซายซิน ที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำลายและเอนไซม์ที่ย่อยแป้งในน้ำลายเพิ่มมากขึ้น การย่อยแป้งที่ปากมากขึ้นจึงทำให้รสอาหารดี แต่ไม่ควรกินพริกมากเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียและอาเจียนได้ ประโยชน์ของพริกในการเป็นสมุนไพรรักษาโรค
พริกเผ็ด มีสรรพคุณคือ ผลพริก(เม็ดพริก) รสเผ็ดร้อน รับประทานแล้วทำให้ร้อน ทำให้โลหิตไหลเวียนดี เจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้อาเจียน แก้โรคบิด แก้โรคท้องเสีย รักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
รากพริก แก้โรคแขนขาไม่มีกำลัง อ่อนเปลี้ย ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออก
พริกทั้งต้น มีรสฉุน ร้อน แก้โรคเหน็บชาที่เกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคลั่ง ปวดข้อ และรักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
พริก ชื่อของพริกที่มีปลูกกันในบ้านเรา มีผู้เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาค เช่น พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….ดีปลี ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกนก พริกแด้ หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า มีชื่อเรียกอื่นๆว่า พริกหลวง พริกแล้ง พริกเดือยไก่ พริกหนุ่ม พริกยักษ์ มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….พริกหวาน พริกมะยม ทุกคนคงทราบกันดีว่า “พริก” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและผูกพันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคน ไทยเรามาตั้งแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จากอาหารที่รับประทานกันในแต่ละมื้อของแต่ละวันนั้น ต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสอาหาร เครื่องแกงต่างๆ กันทุกครัวเรือน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของยาต่างๆ ทั้งรับประทานและถูทาภายนอกร่างกาย เช่น ยาช่วยเจริญอาหารและขับลม ขับปัสสาวะแก้ไข้หวัด แก้ไอ ฯลฯ ตลอดจนใช้ผสมสุราทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และความเผ็ดร้อนจะช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในปัจจุบัน นี้พริกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันทั่วไป ทั้งเป็นพืชผักสวนครัวและมีการปลูกกันเป็นอาชีพในทุกภาคของประเทศ ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้มากพอสมควร จากสถิติการปลูกพริกของประเทศไทยในปีเพาะปลูก 2525/2526 ของการส่งเสริมการเกษตร รายงานว่าพริกเล็ก (พริกขี้หนู) มีการปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 79,968 ไร่ และปลูกรองๆไป ในภาคเหนือ 76,981 ไร่ ภาคตะวันตก 53,781 ไร่ ภาคใต้ 35,872 ไร่ ภาคตะวันออก 7,500 ไร่ และภาคกลางมีการปลูกน้อยที่สุดประมาณ 6,890 ไร่ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการปลูกพริกชนิดอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะพริกใหญ่ (พริกชี้ฟ้า) เพื่อใช้ทำเป็นพริกแห้งอีกเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
พริก ขี้หนู , พริกนก , พริกแด้ , พริกแจว (เหนือ) พริกขี้นก , ดีปลี (ใต้) Capsicum, Cayenne pepper ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 2-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยวเล็กรูปหอกปลายแหลม ขอบจัก ดอกเล็กๆ ผลกลมยาว ปลายไม่แหลม ขนาดเล็กยาว 15-25 มม. สีเขียวเข้ม สุกสีแดงรสเผ็ดจัด
พริกชี้ฟ้า Chili spur pepper อยู่ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae ต้นลักษณะเหมือนพริกขี้หนู แต่ใบโตกว่ารูปหัวใจเรียว ผลกลมยาวปลายแหลมสีขาวหรือเหลืองอ่อนหรือเขียวแก่ สีส้มหรือแดง ยาวกว่าพริกขี้หนู ผลชี้ขึ้นข้างบน รสเผ็ดจัด
สรรพคุณรวม พริกที่ใช้เป็นอาหารทุกชนิดสรรพคุณเสมอกัน คือ
ผล รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้แน่น ขับผายลม เจริญอาหาร ดองสุรา หรือบดผสมวาสลีน ใช้ทาถูนวด หรือแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ต้น รสเผ็ด สุมเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม รสเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ราก รากฝนกับน้ำมะนาวกับเกลือ แก้เสมหะและแก้ไอ
คุณค่าทางอาหารของพริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้า ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 103.0 แคลอรี่ ไขมัน 2.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 19.9 กรัม เยื่อใบ 6.5 กรัม
โปรตีน 4.7 กรัม แคลเซียม 45.0 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 85.0 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
ไวตามินเอ 11,050.0 หน่วยสากล ไวตามินบี 1 0.24 มิลลิกรัม
ไวตามินบี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.10 มิลลิกรัม
ไวตามินซี 70.0 มิลลิกรัม
มด
มด
|
|
ชั้น:
|
|
อันดับ:
|
|
อันดับย่อย:
|
|
วงศ์ใหญ่:
|
|
วงศ์:
|
มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน
และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้
และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้
กายวิภาคของมด
โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้องน้อย
ส่วนหัวมด
หนวด
หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น
คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด
มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ
ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด
ซึ่งแบ่งออกดังนี้
มดราชา (King Ant) มีหนวดประมาณ 500-1000 ปล้อง
มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
มดพนัก (torker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 บ้อง
ตา
แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
ตารวมและตาเดี่ยว
ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่
อาจมีลักษณะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตาเป็นมีตา 2 คู่
และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
ตาเดี่ยว คือ
ตาที่ไม่ได้มีอยู่เป็นคู่ ส่วนใหญ่จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม
บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว
มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม
มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี
3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน
พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น
ปาก
ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ
แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด
(Thorase)
ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่
จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม
กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว
ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน
ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
ร่องพักหนวด
เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้
โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ
ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้
ส่วนอก
ส่วนอกเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง
ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย
เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน
เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่
3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก
(สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา
ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2
เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1
มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์
ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก
ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ
ส่วนท้อง
เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด
บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว
เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole
และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม
แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน
บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน
ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร
การจำแนก
ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000
ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก
เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997
พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
วัสดุ
อุปกรณ์
1.แก้วตวง
2.พริกไทย พริก ข่า ขิง ใบกระเพรา
อย่างละ 80 กรัม
3.ผ้ากรอง
4.หม้อ ครก สาก ขวดบรรจุภัณฑ์
5.น้ำกลั่น
วิธีดำเนินการ
1.รวบรวมพริกไทย พริก ข่า ขิง
ใบกระเพรา อย่างละ 80 กรัม
2.ตำพริกให้ละเอียดใส่ไว้ในถ้วย
3.ต้มน้ำ 120 มิลลิลิตร
ใส่พริกที่ตำได้ลงในหม้อต้ม ประมาณ 5 นาที
4.กรองน้ำที่ได้จากการต้ม
แล้วพักไว้ให้เย็น นำใส่ขวดบรรจุภัณฑ์
5.ทำตามขั้นตอนที่ 2-4
แต่เปลี่ยนพืชเป็นพริกไทย ข่า ขิง
ใบกระเพราตามลำดับ
บทที่๔
ผลการศึกษา
พืชที่ใช้
|
จำนวนมดที่ใช้
|
จำนวนมดที่ตาย
|
พริก
|
10
|
2
|
พริกไทย
|
10
|
1
|
ข่า
|
10
|
0
|
ขิง
|
10
|
0
|
ใบกระเพรา
|
10
|
0
|
อภิปรายผลการศึกษา
จากตารางการทดลองข้างต้น เป็นผลที่ทำให้เห็นว่า
การต้มพืชสมุนไพร เพื่อใช้ของเหลวที่ได้จากการต้มมาฉีดพ่นใส่แมลงที่กวนใจ
เป็นผลที่ไม่ค่อยเป็นไปตามสมมติฐานมากนัก อาจจะต้องเพิ่มความเข้มข้นในการต้มอีก
โดยลดปริมาณน้ำ และเพิ่มปริมาณพืชสมุนไพร
ซึ่งจะทำให้ความเข้มข้นของของเหลวที่ได้นั้นมีความเข้มข้นมากขึ้น
อาจจะทำให้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
หรือค้นคว้าเพิ่มเติมในการเพิ่มของเหลวที่ทำให้มดตายได้ง่ายขึ้น เช่น น้ำมันเบนซิน
บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
การทำโครงงานเรื่อง “สมุนไพรฤทธิ์แรงปราบแมลงกวนใจ” สามารถสรุปได้ดังนี้
กลิ่นของข่าและพริกไทยที่มีความเข้มข้นมากจะกำจัดแมลง เมื่อนำน้ำข่าและน้ำพริกไทยมาผสมกันก็จะได้เป็นสารสกัดจากข่าและพริกไทย เมื่อนำมาฉีดพ่นบนแปลงผักก็สามารถป้องกันเพลี้ยและแมลงกัดกินใบพืชได้
จากการทดลองจะเห็นได้ว่า
พริกสามารถกำจัดแมลงได้มากที่สุด และพริกไทย ข่า ขิง ใบกระเพรา กำจัดได้น้อยลงมา
ตามลำดับ
ประโยชน์ที่ได้กลุ่มข้าพเจ้าได้รับจากโครงงาน
1.
สามารถกำจัดแมลงได้ดี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
2. รู้วิธีกำจัดแมลงอีกวิธีหนึ่ง
ซึ่งไม่มีส่วนผสมสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ใช้แล้วปลอดภัย
3.
เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ข้อเสนอแนะในการทดลอง
1. ควรศึกษาการใช้สมุนไพรไล่มดให้หลากหลายชนิด
2. ควรมีการทดลองซ้ำหลายๆ ครั้ง และใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น
3. ควรมีการศึกษาถึงระดับความเข้มข้นของพริกที่เหมาะสมในการไล่มด
2. ควรมีการทดลองซ้ำหลายๆ ครั้ง และใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น
3. ควรมีการศึกษาถึงระดับความเข้มข้นของพริกที่เหมาะสมในการไล่มด
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
1.1 พริก
1.2 ใบกระเพรา
1.3การต้ม
1.4ต้มพืชสมุนไพร
1.5ขิง
1.6ข่า
1.7 น้ำสมุนไพรที่ได้จากการต้ม